สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 27 มิ.ย.- 3 ก.ค.59

ข่าวสัปดาห์ 27 มิ.ย.- 3 ก.ค. 59
 
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

 

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

 

ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

    ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.24 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.26 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.38 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16
     ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ9.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.62 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.43 ส่วนราคาขายส่งที่ไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.54 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.82 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.18
     ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 273.40 ดอลลาร์สหรัฐ (9,578 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 283.40 ดอลลาร์สหรัฐ (9,909 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.53 และลดลง ในรูปของเงินบาทตันละ 331.00 บาท
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2559 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 377.20 เซนต์ (5,267 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 407.04 เซนต์ (5,672 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.33 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 405.00 บาท

ข่าวรายสัปดาห์ 27 มิ.ย.- 3 ก.ค..59

ถั่วเหลือง

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงาน

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 17.25 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ 
 คาดว่าสถานการณ์ถั่วเหลืองของสหรัฐอเมริกาจะดีขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อน เนื่องจากอุปสงค์การส่งออกที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ สต็อกปลายปีของโลกคาดว่าจะลดลงมากที่สุดในรอบ 3 ปี และอุปทานในประเทศสหรัฐอเมริกจะน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากบราซิลและอาร์เจนตินาเกิดปัญหาการผลิต ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาส่งออกถั่วเหลืองได้มากขึ้นกว่าเดิม 5 ล้านตัน ในปี 2559/60

ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,154.28 เซนต์ ( 15.03 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,138.00 เซนต์ ( 14.79 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.43
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 396.72 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.00 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 395.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 14.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.27
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 31.12 เซนต์ (.24.31 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 31.52 เซนต์ ( 24.58 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.27

................................................................................
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน

27 มิถุนายน - 3 กรกฎาคม 2559

 

ยางพารา

1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาภายในประเทศ
   ราคายางพารายังคงผันผวน โดยปัจจัยบวก ได้แก่ ปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมีน้อย เนื่งจากภาวะฝนตกในแหล่งผลิต เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง ผลผลิตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปที่ผ่านมา มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณร้อยละ 40-60 ลดลงจากร้อยละ 60-80 อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบในประเทศยังชะลอการซื้อ และนักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับการแยกตัวจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร คงเป็นปัจจัยลบกดดันราคายาง

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.28 บาท ลดลงจาก 49.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.97 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.97
     2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.78 บาท ลดลงจาก 48.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.97 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.99
     3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.28 บาท ลดลงจาก 48.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.97 บาท หรือลดลงร้อยละ 2.01
     4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.70 บาท เพิ่มขึ้นจาก 21.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.16 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.74
     5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.76 บาท ลดลงจาก 18.77 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.01 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.05
     6. น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.41 บาท ลดลงจาก 44.66 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.25 บาท หรือลดลงร้อยละ 2.80

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2559
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
     1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.45 บาท เพิ่มขึ้นจาก 57.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 4.65 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.04
     2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.30 บาท เพิ่มขึ้นจาก 56.65 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 4.65 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.21
     3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.56 บาท เพิ่มขึ้นจาก 45.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.88 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.93
     4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.91 บาท เพิ่มขึ้นจาก 37.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.24 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.64
ท่าเรือสงขลา
     1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.20 บาท เพิ่มขึ้นจาก 57.55 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 4.65 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.08
     2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.05 บาท เพิ่มขึ้นจาก 56.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 4.65 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.24
     3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.31 บาท เพิ่มขึ้นจาก 45.43 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.88 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.94
     4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.66 บาท เพิ่มขึ้นจาก 37.42 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.24 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.64

2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ

     ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์และตลาดโตเกียว เปลี่ยนแปลงในชวงแคบ ๆ โดยมีปจจัยบวกจากปริมาณผลผลิตมีน้อย มีการซื้อเพื่อเก็งกําไร และนักลงทุนตอบรับรายงานตัวเลขนําเขายางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ของจีน ในชวง 5 เดือนแรกของปเพิ่มขึ้นรอยละ 4.09 เมื่อเทียบกับชวงเดียวกันของปที่ผ่านมา แสดงถึงภาวะเศรษฐกิจจีนมีความแข็งแกรงและเริ่มฟนตัว โดยมีปัจจัยมาจากภาคบริการและภาคกอสร้าง ขณะที่สต็อกยางของจีนเพิ่มขึ้นแตะระดับ 332,687 ตัน (3 ก.ค. 59)

ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 175.03 เซนต์สหรัฐฯ (61.28 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 161.88 เซนต์สหรัฐฯ (56.63 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 13.15 เซนต์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.12
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 163.23 เยน (55.54 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 156.70 เยน (52.34 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 4.53 เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.17


ปศุสัตว์
ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี